วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=5gYHGUg0zKs

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา

ความหมายของวันมาฆบูชา
        คำว่า “มาฆะ” นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

การกำหนดวันมาฆบูชา
        การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

ความสำคัญวันมาฆบูชาและประวัติวันมาฆบูชา
        ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์”แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”

ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย
        พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า 
        ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
        เมื่อถึงเวลาค่ำ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึงและขนมต่าง ๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ
       ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง
       ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา
       นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
       การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชาคือ คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่างๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดกิจกรรมในวันมาฆบูชา
       พุทธศาสนิกชนจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป

แหล่งที่มา : http://hilight.kapook.com/view/20696

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

วันจักรี (Chakri day)

     วันจักรี ตรงกับ วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี (วันเสาร์) เป็นวันที่ระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ มหาจักรีบรมราชวงศ์
    วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ

ประวัติวันจักรี (Chakri day)

       เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็น กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ (ร.๑ – ร.๔) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และ พระที่นั่งศิวาลัยปราสาท เป็นต้น
       ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ – ร.๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่าเป็น “วันจักรี

ตราราชวงศ์จักรี ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่างๆ

R-0 

ตราราชวงศ์จักรี
       ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุง ธนบุรี คำว่า “จักรี” พ้องเสียงกับคำว่า “จักร” และ “ตรี” ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน

R-1

ตราประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี
       “มหาอุณาโลม” ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ “อุ” อยู่ตรงกลาง (“อุ” มีลักษณะ เป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะพระนามเดิมว่า “ด้วง”)
        หมายถึง ตาที่สามของพระอศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตัั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ ล้มด้วยกลีบบัว ซึ่งเป็นพฤกษชาติสิริมงคล ทางพระพุทธศาสนา

R-2

ตราประจำรัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี
       “ครุฑจับนาค” ลักษณะรูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ฉิม” ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทย คือ ที่อยู่ของพญาครุฑ

R-3

ตราประจำรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี
      “มหาปราสาท” ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าให้สร้างพรลัญจกรเป็นรูปปราสาท

R-4

ตราประจำรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี
      “พระมหาพิชัยมงกุฏ” ลักษณะกลมรี รูปพระมหามงกุฏ ตามพระนามเดิมคือ เจ้าฟ้ามงกุฏ อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง มีพาน ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชร ข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งวางสมุดตำรา

R-5

ตราประจำรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี
      “พระจุลมงกุฏ หรือ พระเกี้ยว” ลักษณะกลมรี มีรูปพระเกี้ยวยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น เคียงด้วยฉัตรปริวาร ๒ ข้าง ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งวางสมุดตำรา

R-6

ตราประจำรัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี
      “มหาวชิราวุธ” ลักษณะกลมรี รูปวชิรรวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น มีฉัตรปริวาน ๒ ข้าง โดยพระนามของพระองค์นี้ มีความหมาย คือ ศัตราวุธของพระอินทร์

R-7

ตราประจำรัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี
      “พระไตรศร” ลักษณะกลมรี รูปราวพาดพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมศาสตร์, พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต ( เป็นศรของพระพรหม, พระนารายณ์ และพระอศวร)

R-8

ตราประจำรัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี
      “รูปพระโพธิสัตว์” ลักษณะทรงกลมกว้าง 7 ซ.ม. ลักษณะประทับบนบัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน หมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว ด้านหลังแท่นรัศมี มีแท่น รองรับตั้งฉัตรบริวาร ๒ ข้าง เป็นสัญลักษณ์ของ ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล ซึ่งแปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน

R-9

ตรงประจำรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี
       “พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์” ลักษณะรูปไข่ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ “อุ” รอบๆ มีรัศมี มีความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน

ตราพระราชลัญจกรนี้ ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน สร้างขึ้นเพื่อใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนประองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

แหล่งที่มา : http://scoop.mthai.com/specialdays/2349.html

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

วันศิลปินแห่งชาติ

  ศิลปะชั้นเลิศ มักถูกถ่ายทอดจากความรู้สึกนึกคิด และความสามารถของผู้ที่เป็น “ศิลปินชั้นเอก” ซึ่งในปัจจุบันมี ศิลปินสาขาต่าง ๆ มากมาย ที่สร้างผลงานน่าประทับใจ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงกำหนดให้มี วันศิลปินแห่งชาติ และจัดให้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ “ศิลปินแห่งชาติ” เป็นประจำทุกปี

ประวัติความเป็นมา วันศิลปินแห่งชาติ
        วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม และด้านดนตรี ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันศิลปินแห่งชาติ

        ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 เพื่อสรรหาส่งเสริมสนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา

ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ
        ศิลปินแห่งชาติ นับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปีพ.ศ. 2527  และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2554) มีศิลปินสาขาต่าง ๆ มาแล้วหลายคน

        สำหรับผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับเงินตอบแทน เดือนละ 20,000 บาท  และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อการรักษาพยาบาลได้ตามระเบียบราชการ รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย และหากเสียชีวิต จะมีค่าช่วยเหลืองานศพ 15,000 บาท ค่าจัดทำหนังสือที่ระลึก 120,000 บาท

คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ มีดังนี้
       1. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน

       2. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น           3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
       4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
       5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
       6. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
       7. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

การจำแนกสาขาศิลปะของศิลปินแห่งชาติ
       1. สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติหรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้

          – จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียนสีและภาพลายเส้น
          – ประติมากรรม หมายถึง งานปั้นและแกะสลัก
          – ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ โลหะ ฯลฯ
– ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่เสนอด้วยสื่อและกรรมวิธีต่างๆ

           – สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่างๆอย่างอิสระ
       2. สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง งานออกแบบ หรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย 
       3. สาขาวรรณศิลป์ (Literature) หมายถึง บทประพันธ์ที่ปลุกมโนคติของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ หนังสือเด็ก วรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง
       4. สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่
           4.1 การละคร ประกอบด้วย ละครรำ เช่น โนห์รา ชาตรี ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) รำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) ฟ้อน (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) เซิ้ง (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) หุ่น เช่น หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้องหรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง)
           4.2 การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล
                  – นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องมือ
                  – นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับในการแสดงต่างๆ และสามารถแหล่ทำนองต่างๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)
                  – นักประพันธ์เพลง ต้องประพันธ์ ทั้งทางร้องและทางดนตรี
                  – ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น
                  – ผู้ผลิตเครื่องดนตรี
           4.3 การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ซอ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ

แหล่งที่มา : http://hilight.kapook.com/view/56456

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

พิธีรำบวงสรวงสดุดี “พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” ในวันครบรอบการก่อตั้งเมืองอุดรธานี (18 มกราคม 2559)

img_5225-1

      ชาวอุดรธานีได้เลือกเอาวันที่ ” พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิปาคม “ พระเจ้าน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับบรมราชโอการมาปราบโจรจีนฮ่อ จนราบคาบตั้งกองทัพใหญ่ที่ จ.หนองคาย แต่ต้องนำไพร่พลถอยทัพจากริมแม่น้ำโขง ตามสนธิสัญญากรณีพิพาทฝรั่งเศส รศ.112 มาถึงบ้านหมากแข้ง หรือเมืองอุดรธานีในปัจจุบัน และเลือกตั้งกองทัพอยู่ที่นี่ เป็นวันก่อตั้งเมือง หรือวันเกิดเมืองอุดรธานี ซึ่งตรงกับวันที่ 18 มกราคมของทุกปี

        ด้วยพระปรีชาเลือกสถานที่ตั้งเมือง จากบ้านหมากแข้ง สู่เมืองอุดรธานี เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จน กลายเป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ จึงได้ร่วมกันขอพระบรมราชานุญาต จัดสร้างพระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมขึ้น และกราบบังคมทูลพระบาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดพระอนุสาวรีย์ฯขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2514

        นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จังหวัดอุดรธานี ชาวอุดรธานี และกลุ่มสตรีศรีหมากแข้ง ได้จัดให้มีพิธีรำบวงสรวงดวงวิญญาณ “พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิปาคม” เป็นประจำในวันที่ 18 มกราคมทุกปี และนำมาลัยกรไปถวายฯ ในวันเฉลิมฉลองการก่อตั้งเมือง จากการรำที่ใช้ชุด “ไทยอีสานพื้นถิ่น” สีน้ำเงิน-แดง มาเป็นสวมเสื้อสีตามสีธงชาติไทย-ผ้าซิ่นหรือผ้าถุง-พาดผ้าเบี่ยงหรือสไบ

        จนมาถึง พ.ศ.2536 เปลี่ยนสีเสื้อมาเป็น “สีแสด” สีของดอกทองกวาว หรือดอกจาน ที่ใบบันทึกจดหมายของกรมหลวงประจักษ์ฯ รายงานให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าเคลื่อนไพร่พลจากหนองคาย มาถึงบ้านหมากแข้ง ต้นทองกวาวออกดอกบานตลอดเส้นทาง และถูกกำหนดให้เป็น”ดอกไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี พร้อมกับปรับปรุงเพลงรำบวงสรวง-ท่ารำ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

        ทุกวันที่ 18 มกราคมของทุกปี วันเฉลิมฉลองการก่อตั้งเมืองอุดรธานี บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิปาคม จัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีในช่วงเช้า ประกอบพิธีทางศาสนา หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ร่วมถวายพานพุ่ม พิธีเซ่นไหว้บวงสรวง บายศรี-สู่ขวัญ และ “รำบวงสรวง” เป็นการรำของประชาชนชาวอุดรธานีทุกหมู่เหล่า และเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี จนเต็มบริเวณรอบอนุสาวรีย์ฯ ขยายออกไปตามถนนอีก 5 สาย

        ในวันที่ 18 มกราคม 2559 เมืองอุดรธานีจะลุเข้าสู่ปีที่ 123 จังหวัดอุดรธานีจึงได้จัดให้มีการบันทึกสถิติโลก หรือกินเนสเวิร์ดเลคคอต “รำไทยมากที่สุด 5,121 คน” ในช่วงเช้าต่อจากพิธีเซ่นไหว้บวงสรวง โดยแบ่งการรำบวงสรวงเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นผู้รำบวงสรวง ไม่ร่วมบันทึกสถิติโลก จะรำรอบๆอนุสาวรีย์ และถนนอีก 4 สาย ส่วนที่สองเป็นผู้รำบวงสรวงบันทึกสถิติโลก จะใช้บนถนนทหารทั้งขาเข้า-ออก 10 แถว แบ่งเป็นกลุ่มๆละ 50 คน ยาวไปจนถึงปากซอยจินตคาม หรือราว 2 กม.

        ผู้รำจากชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี , ชุมชนและกลุ่มจาก 20 อำเภอ , หน่วยงายราชการ , สถานศึกษา และองค์กรเอกชน จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าไหม-ฝ้ายสีแสด สวมผ้าซิ่นหรือผ้าถุงมัดหมี่-ขิด-ย้อมคราม พาดผ้าเบี่ยง หรือสไบ ทัดด้วยดอกทองกวาว หรือดอกจาน รำบวงสรวงด้วยเพลง รำบวงสรวงกรมหลวงประจักษ์ (คอนสวรรค์) และเพลงรำบวงสรวงเทิดพระเกียรติ ความยาว 13.50 นาที ซึ่งมีการซักซ้อมกันมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว และจะซ้อมรวมวันที่ 12-13 มกราคม เวลา 13.00-20.00 น. ณ สนามกีฬาประชาชนเทศบาลนครอุดรฯ และซ้อมใหญ่ วันที่ 15 ม.ค. 2559 เวลา 08.00-11.00 บริเวณสถานที่จริง

       วันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2559 วันระลึกก่อตั้งเมืองอุดรธานี ลุเข้าสู่ปีที่ 123 วันแสดงพลังแห่งความศรัทธาต่อ “พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” และเป็นวันประกาศให้ชาวไทย ชาวโลก รับรู้ถึงความศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของชาวอุดรธานี….ทั้งมวล…..

แหล่งที่มา : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453107780

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | 1 ความเห็น

ประวัติวันครู

       วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

       ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

        ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

       “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

        จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

        การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

       การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3ประเภทหลักดังนี

  • กิจกรรมทางศาสนา
  • พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  • กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
 
ความหมายของดอกไม้ต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในการไหว้ครู

          ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับ หญ้าแพรก 

          หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง

 

          ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก

          ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม

แหล่งที่มา : http://www.moe.go.th/PSD/Page%20Design/03_Teacher_Day/teather%20day/

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาติ

       งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ

       รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลรัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

      งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้
___________________________________________________________________

คำขวัญวันเด็ก ปี2559 – พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา – “เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต”

cropped-e0b8a7e0b8b1e0b899e0b980e0b894e0b987e0b881e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b4.jpgแหล่งอ้างอิง : http://www.mcp.ac.th/print_text.php?mm=22&sm=49&ssm=40&id=157

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

ทดสอบการโพสต์วิดีโอ

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

ยินดีต้อนรับทุกท่าน

นี่เป็นการทดสอบการสร้าง Blog ของ WordPress.com

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น